วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ขนมไทย




ขนมไทย

เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย

มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย คือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติ

อร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยัง

แตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ

ขนมไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมานับพันปีเพราะผูกพันกับ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

เพื่อใช้ในงานประเพณีและงานมงคลต่าง ๆ การทำบุญเลี้ยงพระ หรือทำรับ ประทานภายในครอบครัวและเพื่อนฝูงก็ได้ซึ่งขนมไทยก็ทำ

ไม่ยากนักอีกทั้งต้นทุนและวัตถุดิบที่จะนำมาทำก็หาง่ายมีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มะพร้าว แป้ง เผือก มัน กล้วย ข้าวเหนียว ฯลฯ นอกจาก

ส่วนประกอบที่หาง่ายแล้วขนมไทยยังมีสัดส่วนการทำที่ยืดหยุ่นได้ไม่เหมือน ขนมของต่างประเทศซึ่งวิธีการเติมส่วนผสมของขนมต่าง

ประเทศต้องตวงให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง ถ้าวิธีการตวงส่วนผสมผิดพลาดการทำขนมชนิดนั้นก็จะไม่เป็นขนมที่เราต้องการ ส่วนขนมไทย

นั้นจะอร่อยมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญซึ่งฝึกฝนได้ในเวลาไม่นานนัก ดังนั้น จึงขอเชิญชวนคนไทยทุกคนหันมาลองทำ

ขนมไทยกันดูบ้าง

ขนมไทยผูกพันแน่นแฟ้นกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน และทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบันขนมไทยเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ใน

การดำรงชีวิตของคนไทย แม้การ

ขายขนมจะไม่มีการทำอย่างแพร่หลายในสมัยก่อน คนไทยก็รู้จักที่จะทำขนมกินกันเอง เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตร

สังคมชนบทที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่

มากมาย อาทิ มะพร้าว ตาล ที่ปลูกอยู่ในผืนดินของตนเอง ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าว

เม่า ข้าวตอก ฯลฯ ถ้าอยากได้กะทิก็ไป

เก็บมะพร้าวมาขูดแล้วครั้นเอาน้ำ ถ้าอยากได้แป้ง ข้าวก็มีพร้อมเพราะปลูกเอง โม่หรือหินโม่แป้งก็มีอยู่ทุกบ้าน เอามาโม่เข้าไม่นานก็จะ

ได้แป้งสำหรับทำขนมอร่อย ๆ กินกันเองในครอบครัว ถ้าทำจำนวนมากก็นำไปแบ่งปันให้เพื่อนบ้านได้ลิ้มรสด้วยก็ยังไหว

ขนมครกกับขนมกล้วยดูจะเป็นขนมยอดนิยมที่สุด เพราะส่วนผสมหรือเครื่องปรุงนั้นหาง่าย ตลอดจนกรรมวิธีในการทำก็ง่ายแสนง่าย

ทั้งเตาขนมครกก็มีขายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

แล้ว ส่วนกล้วยและมะพร้าวก็มีกินกันอย่างเหลือเฟือหากไม่นำมาทำขนมกินก็ต้องเหลือทิ้งไปเปล่า ๆ ขนมน้ำเป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่

ชาวบ้านนิยมทำกินกัน ที่ทำง่ายและนิยมกินที่

สุดเห็นจะได้แก่ขนมพวกแกงบวดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟักทองบวด มันบวด กล้วยบวดชี ถัดจากขนมน้ำก็ยังมีการถนอมอาหารเก็บไว้กิน

นาน ๆ ประเภทขนมเชื่อมและขนมกวนรวมไปถึงผลไม้ดองและผลไม้แช่อิ่มอีกด้วย


ภายหลังเมื่อมีตลาดก็มีขนมหลายชนิดขาย วิธีการนำมาขายก็มีตั้งแต่วางขายอยู่กับที่ กระเดียดกระจาด แบกกระบุง และหาบสาแหรก

เร่ขาย คนไทยก็มีทางเลือกมากขึ้นเพราะ

มีขนมให้กินหลายชนิดขึ้น พ่อค้าแม่ขายต่างพัฒนาฝีมือการปรุงรสชาติขนมของตนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้น


ตลาดขนมไทยที่ขึ้นชื่อลือชานั้นมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เริ่มแรกนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่เจ้าในแต่ละแห่ง แต่ต่อมาก็เพิ่มขึ้น ๆ จนกลายเป็น

ย่านขนมหวานไปเลย ซึ่งย่านค้าขายขนมไทย

ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็ได้แก่ขนมไทยเมืองเพชรบุรี หมู่บ้านขนมไทยจังหวัดนนทบุรี ตลาดหนองมนของจังหวัดชลบุรี ฯลฯ นอก

จากนี้ตามตลาดทุกแห่งทั่วประเทศก็มี

ขนมไทยวางขายและเร่ขายกันดาษดื่น


คนไทยที่กินขนมไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นคนในสังคมชนบท แต่ใช่ว่าคนเมืองจะไม่กินเอาเสียเลย เพราะนอกจากขนมฝรั่งอย่าง โดนัท

เค้ก คุกกี้ พุดดิ้ง วาฟเฟิล คัสตาร์ด พาย ฯลฯ

แล้ว ขนมไทย ๆ อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมเบื้อง ขนมน้ำดอกไม้ ทองม้วน ก็ยังติดอันดับขนมยอดฮิตที่มีคน

นิยมกินกันมากเช่นกัน


สรุปได้ว่าขนมไทยมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของไทยชนิดแยกกันไม่ออกมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถึงแม้ภายหลังจะมีขนม

ของชาติตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากก็ตาม และแม้ขนมไทยส่วนหนึ่งจะสูญหายไปจากความนิยมในสังคมไทย แต่ก็ยังมีขนม

ไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ยังสร้างสีสันด้วยรสชาติหอมหวานอยู่ในวัฒนธรรมไทยดังนั้นคงจะ

ไม่แปลกหรือเป็นการเกินเลยหากจะกล่าวเป็นสากลว่า “Thai desserts never died” หรือหากตราบใดที่วัฒนธรรมไทยยัง

คงอยู่ ขนมไทยก็จะยังคงฝังอยู่อย่างแนบแน่นเช่นเคย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น